วันเสาร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

Connected Together

This is a time to stay and watching the new things happen!.

More data more chance. Many group asked me about Data - Big Data - More Data. I'm luckily. I'm in this business of data since 15 years ago.  First we worried about how to keep data. Second we afraid about how to process these data.

But now more technologies are coming.

Then instead we answer the question about the data we have, We will find the way to reverse thinking about these question.

With the data we have
1. What is the model we have?
2. If we have another data coming in this model, What is the future?
3. If we need the result like this again, What is the source of this?

That is the Big-Data come!


วันพุธที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

Chiangmai Pass

ผมเป็นพวกทำงานสายวิศวกรรมซอฟต์แวร์เป็นส่วนใหญ่ ทำให้พอมีความรู้ในด้านของการสร้างระบบอยู่บ้าง

ล่าสุดไปให้ความเห็นในการพัฒนาบุคคลากร เพื่อป้อนให้กับสถานประกอบการ เป็นที่น่าดีใจที่งานสายทางด้าน IT นั้นได้กระจายไปอยู่ที่หัวเมืองอย่างเช่น จังหวัดเชียงใหม่ มีการผลิตกำลังคนเพื่อรองรับการนำเทคโนโลยีมาใช้งาน

แต่ก็อดเสียไม่ได้ว่า แล้วสังคมเราบ้านเมืองเราจะทำอย่างไร หรือว่าจะเป็นผู้ซื้อมากกว่าเป็นผู้ผลิตบ้าง

การสนทนาในวันนั้น ผมได้เน้นให้ทราบถึงการพัฒนาบุคคลากรทางด้าน IT ว่าเราควรจะเน้นไปทางใดบ้าง ซึ่งผมก็เสนอว่าให้มองดูว่าเรามีอะไรที่เป็นจุดเด่น เช่น

การท่องเที่ยว การแพทย์ อาหาร และบริการ

ดังนั้นเราควรผลิตบุคคลากรเพื่อให้มารองรับกับจุดเด่นนั้น ๆ เช่น มีนักพัฒนาสื่อการนำเสนอการท่องเที่ยวในรูปแบบดิจิตอล การวิเคราะห์ข้อมูลการท่องเที่ยว การใช้เงิน การพัฒนาอุปกรณ์ฝังตัวที่สามารถนำมาใช้กับอุปกรณ์ทางการแพทย์ หรือแม้กระทั้งระบบบริการข้อมูลการเดินทางต่าง ๆ

จำไม่ได้ว่าใครเป็นคนถามว่า "แล้วเราจะทำอะไรดีสำหรับเมืองเชียงใหม่?" ผมก็นั่งเหมอมองไปรอบ ๆ ตัว ......


คำตอบคือ    "Chiangmai Pass"

ด้วยเหตุผลที่ว่าเชียงใหม่เป็นเมืองท่องเที่ยว มีนักท่องเที่ยวมากมาย ทั้งคนไทยและคนต่างประเทศ ถ้าหากทุกภาคส่วนรวมกัน ไม่ว่าจะเป็น ร้านค้า ร้านบริการ สิ่งอำนวยความสะดวก การบริการรถรับส่ง สถานที่ท่องเที่ยว ถ้าหากร่วมมือกันได้ เราจะสามารถสร้างระบบที่รองรับการใช้จ่ายผ่านบัตร Chiangmai Pass ได้

มีบัตร (หรืออุปกรณ์ที่ระบุได้) สามารถใช้จ่ายที่เชียงใหม่ได้ทุก ๆ ที่ ที่มี สติ๊กเกอร์ Chiangmai Pass Cert!   เท่าที่จำนวนเงิน (Coin) ยังมีอยู่ในบัตร


คำถามต่อมาคือ "ทำไม?"


คำตอบได้ว่า "ถ้าเราไม่ทำเอง อีกหน่อยคงมีคนทำก่อนเรา แล้วเราจะเสียโอกาสนี้ไป"



วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2561

Power เป็นเรื่องสำคัญสำหรับ IoT

เจอเข้าอย่างน่าแปลกใจ ใช้ USB wifi เก่า ของ Buffalo ที่แต่เดิมมาใช้กับเครื่อ PC มาต่อกับ Raspberry Pi 2 Mode B+ อยู่ได้ 2 ปี

ปรากฏว่า เวลานี่ Wifi connection นั้นติด ๆ หลุด ๆ

แก้ไขปัญหาด้วยการซื้อ Edimax 7811Un มา ลื่นปรืดๆ


วันจันทร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2561

ระบบย่อย ๆ ที่ช่วยกันทำงาน

สมัยที่ดูเหมือนทุกสิ่งรอบ ๆ ตัวเรากำลังสื่อสารกัน ในความเดิมเมื่อสมัยเรียน เราเรียกว่า "connected" กัน บ้างก็เรียกว่า "สื่อสาร" บ้างก็เรียกว่า "sensing" แต่พอเดี๋ยวนี้ต้องเรียกว่า "networked" กัน

เรื่องมันก็เข้ามาพอดี ลองพิจาณาดูตัวอย่างของการ ซื้อ-ขาย แบบ ออนไลน์ ถ้าเป็นระบบสมัยเก่า ก็ต้องเรียกว่า พัฒนากันแบบกินรวบ แต่เดี๋ยวนี้ ต้อง networked กัน เช่น

ผู้ผลิตสินค้า - เน้นผลิตสินค้าให้มีคุณภาพ => Product
ตลาด - รวบรวมสินค้า จัดแบ่งและบริหาร => Market Place
การขนส่ง - ขอส่งสินค้าให้ไว้ และเข้าถึง => Logistics
ลูกค้า - จ่ายเงิน => Demand

เมื่อก่อน สิ่งเหล่านี้ไม่ networked กัน แต่พอ networked กัน มันก็แสดงให้เห็นว่า ผู้เล่น แต่ละส่วน จะทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด ไม่ก้าวก่ายหน้าที่กัน 

สุดท้ายจะเหลือความชำนาญเฉพาะสำหรับผู้เล่นแต่ละรายเท่านั้น

วันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560

ยิ่งโง่ ยิ่งฉลาด

พ.ศ. 2560 หรือ ค.ศ. 2017

นี่ก็อีกปีแล้ว ตอนนี้เวลามันวิ่งแซงความโง่ของผมอย่างรวดเร็ว เพราะปกติแล้วในแต่ละปีผมสามารถที่จะจบเรื่องที่โง่ในแต่ละปีได้ แต่นี้ดูเหมือนว่าผมจะโง่ข้ามปี

ยิ่งโง่ ยิ่งฉลาด นั้นสำหรับผมหมายความว่า เมื่อเผลอตัวไปสนใจอะไรเข้า ก็จะพยายามเรียนรู้ในสิ่งนั้น จนกระทั่งมีความฉลาดในสิ่งนั้นขึ้นมา

ปีนี้ก็หวังว่า จะยิ่งโง่ได้อีกปี

วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2559

กระจกข้างรถ

เมื่อรอรถติดไฟแดงอยู่ ความคิดก็วิ่งเร็วจี๋

เมื่อเทคโนโลยีมาถึง เราจะไม่มีกระจกรถด้านข้าง แล้วนี่หว่าเพราะว่า

"การมองด้านข้าง ด้านหลัง จะมารวมกันไว้ที่ด้านหน้า"


วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ระบบ shopping ออนไลน์ ที่ให้ใช้ฟรี มันฟรีจริงหรือไม่

ในระยะเวลา 1-2 ปีนี้ ผมเห็นร้านค้าออนไลน์หลายแห่ง ใช้ระบบ shoping คล้าย ๆ กัน แล้วก็มาจากแหล่งเดียวกันซะด้วย

แล้ววันนี้ก็คนพบว่า มันเป็นผลต่างตอบแทนนั้นเอง


วิธีการก็ดำเนินการคล้าย ๆ search engine หรือ social ยอดนิยมหลาย ๆ อันที่นิยมใช้กัน นั่นคือ การดึงผู้ใช้งานเข้าระบบก่อน เพราะผู้ใช้งานจำเป็นสำหรับ สิ่งที่ตามกันมา

แต่ก่อนเราคิดกันว่าสร้างซอฟต์แวร์เพื่ออะไร หลาย ๆ คนก็บอกว่า เราสร้างมันเพื่อขายซอฟต์แวร์
แต่ผมกลับบอกหลาย ๆ คนไปว่า "มันคือวิธีเดิม" ซึ่งเดี๋ยวนี้ใครคิดทำอย่างนี้อดตายกันหมด

ซอฟต์แวร์มันเป็นแค่ตัวดึง ดึงให้มีการคนมาใช้งาน แล้วผู้ควบคุมค่อยตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรต่อไปกับผู้ใช้งานนั้น ๆ

ตัวอย่างเช่น เราสร้างเว็บไซต์เพื่อให้ข้อมูลสำหรับคนเข้ามาดูเว็บไซต์เรา มีสมาชิก และก็เพิ่มขึ้น ๆ แล้ววันหนึ่งเราก็พบว่า มีการซื้อเว็บนั้นไปเลย ... แล้วคนซื้อได้อะไรหละครับ...(คิดกันเอาเอง)

แต่ก่อนนี้มีหลาย ๆ ซอฟต์แวร์ พยายามสร้าง shopping cart system เพื่อให้เราโหลดมาใช้ฟรี ๆ แต่ก็ไม่ค่อยประสบความสำเร็จ เพราะว่า ซอฟต์แวร์เหล่านั้นก็คิดมาเพื่อให้คนนำซอฟต์แวร์ ไปใช้งานได้ฟรี มันดีสำหรับบางมุม  แต่ก็ยังไม่สำเร็จ

นี่คือตัวอย่าง ลองนึกตามนะครับ

  1. เราค้นหาข้อมูลบน search engine แต่ก็แลกกับต้องดูโฆษณา
  2. เราได้รู้ว่าเพื่อนเรา post อะไรบน social แต่ก็ต้องแลกกับการดูโฆษณา
ตกลงเรา นั่นหมายความว่า ผู้ใช้งานหลาย ๆ คน ตกลงทำอะไรกันแน่

กลับมาที่ online shopping ตอนนี้ ระบบ online shopping เริ่มให้เปิดใช้บริการฟรี ไม่จำกัดเวลา ไม่จำกัดขนาด ไม่จำกัดจำนวนสินค้า ...​ถามว่า ทำไม

ลองนึกว่า เมื่อหลาย ๆ คนใช้งานไม่ว่าจะเป็น เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย คนเหล่านี้กำลังทำอะไรกันในระบบ online shopping ...

"เรากำลังเป็น data entry ให้ระบบกันอยู่ โดยได้ผลประโยชน์ร่วมกัน ระหว่างผู้สร้างระบบ ผู้ขาย ผู้ซื้อ"


แล้ววันหนึ่งเราจะพบว่า ผู้สร้างระบบได้อะไร ผู้ขายได้อะไร ผู้ซื้อได้อะไร...

ผมขอไม่อ้างอิงระบบที่ว่า แต่ก็ไปดูกันเอาเอง