วันอาทิตย์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2561

start up up up!

เรื่องของเรื่องเกิดจาก วันนี้อ่านข้อความเกี่ยวกับ Start up ของต่างประเทศ เลยฉุกคิดว่า ถ้าจะมองว่า ประเทศไทยมีการขับเคลื่อนไปในทางใดบ้าง แต่ก่อนเราคงมองแค่ว่า มีกิจกรรมใดที่โดดเด่นบ้าง จากปีที่ผ่านมา และที่จะเข้ามา

แต่ ณ ปัจจุบัน เริ่มเข้าสู่ยุคที่เจ้าของธุรกิจ จะแสดงธุรกิจปัจจุบันที่ก่อตั้ง

พอมาดูประเทศเรา เห็นว่ามีการพยายามสร้าง Thailand 4.0 ขึ้น แต่ถ้านับ start up ว่ามีที่เกิดแล้วสำเร็จเท่าไหร่ ก็เห็นได้ว่าน้อยเต็มที

การเกิด start up ใหม่ ๆ ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่ถ้าไม่เกิดเลยหรือเกิดน้อยก็แสดงว่า ประชากร ในกลุ่มนั้น ไม่มีความคิดในการเริ่มอะไรใหม่ ๆ เลย

นี่เป็นที่น่าเป็นห่วงยิ่งนัก ..

วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2561

When nothing clear, there are always another one will try to lead you.

That is a point. When we don't know exactly what is in our hand, There are always another one will come and tell you this is it!

Like Thailand 4.0, I never heard about 3.0, 2.0 or even 1.0 before. But this is a sample from outside who tell me.


http://social-innovation.hitachi/th-en/about/cocreatingtomorrow/thailand/?WT.ac=dc-has-ampl18k-th-then-fb

วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

เมื่อมองครบ การเลือกทำตรงที่ถูกจุด จะประหยัดเวลา

ในยุคของการทำเกษตรปัจจุบัน เทคโนโลยีเริ่มเข้ามามีประโยชน์มากขึ้น แต่การที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้แต่อย่างเดียวคงไม่สำเร็จ หากต้องมองให้ออกว่าควรจะนำมาใช้ในขั้นตอนใด และช่วงเวลาใด

สิ่งที่เห็นอยู่ทุกวันนี้คือ "การแยกกันทำ แบบไม่รวมกัน" เช่น เกษตรกรก็หาวิธีนำอุปกรณ์อัตโนมัติมาใช้งเช่น การให้นำพืช การให้ปุ่ย การฉีดยาฆ่าแมลง แต่ก็มีบางกลุ่มที่คิดค้นวิจัย นำอุปกรณ์มาใช้เป็นเครื่องช่วยผลิต เช่น การตรวจจับต่าง ๆ สำหรับไร่นา อุปกรณ์ควบคุมเครื่องจักร  เทคโนโลยีการตรวจวัดคุณภาพของพืชที่แปลง

แต่เกมส์นี้ คนที่คิดแบบ "แยกกันทำแบบรวมกัน" น่าจะเป็นผู้นำมากกว่า และถ้ามองให้ครบทั้งหมดแล้ว หากเราไม่ทำอะไรเลย คงถูกควบคุมโดยคนที่ไม่ได้ทำอะไรเลย เช่นพวก มาตรฐานต่าง ๆ ที่เราเคยโดน

คนปลูก ก็ทำไป คนตรวจก็ตรวจไป สุดท้าย เกิดช่องว่างให้คนอื่นเขามาหาผลประโยชน์  แทนที่จะเป็นเกษตรกร

ถ้ามองการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเกษตรแล้ว ควรจะเริ่มให้ความรู้ตั้งแต่การทำเกษตร และการนำเทคโนโลยีมาใช้งานพร้อม ๆ กัน และจัดลำดับการนำมาใช้งานให้ถูกต้อง เรียกว่า "เกษตรแนวใหม่"

สำหรับผมแล้วมีความเห็นว่า ถ้าให้เกษตรกรมาเรียนการใช้งานเทคโนโลยีน่าจะเป็นทางที่ยากกว่าการให้นักเทคโนโลยีมาเรียนเกษตร เรียกได้ว่ามาเรียนด้วยกันด้วยยิ่งดี เพราะจะได้มีการแลกเปลี่ยนกัน

ลำดับที่ผมพอจะมองออกก็คือ
1. ระดับ Operation ซึ่งคนที่ทำหน้าที่นี้ได้ดีคือ เกษตรกร หรือลูกหลานเกษตกร
2. ระดับ Manager เป็นคนที่คอยจัดการและบริหาร ความสอดคล้องกันของการผลิตและการตลาด
3. ระดับ Director เป็นคนที่คอยกำกับทิศทางที่ควรจะดำเนินการไป

โดยถ้ามองการนำเทคโนโลยีมาใช้คงพอเป็นแบบนี้ได้
1. ระดับ Operation ให้นำ ระบบ เซนเซอร์ และ ออโตเมชั่นมาใช้ร่วมกับแรงงาน
2. ระดับ Manager นำข้อมูลที่ได้จากระดับ Operation มาวิเคราะห์และหาช่องทางในการนำส่งตลาดที่เหมาะสม
3. ระดับ Director ควรเป็นการนำ Big-Data มาใช้เพื่อกำหนดทิศทางในภาพรวม ทั้งภายนอกและภายใน

และถ้าเราสามารถ "Connected" กันได้ในระดับล่างจนถึงระดับบน และไปยังระดับ กลุ่ม เราก็จะการเกษตรแบบรวม รู้ได้ว่าใครปลูกอะไร ใครอยากได้อะไร

ไม่ใช่ว่าปลูกกันไป ตามข่าวสังคมที่เขาว่า อย่างนั้นดี อย่างนี้ดี

สุดท้ายเนื่องจากประเทศไทยของพวกเรา มีพื้นฐานการพัฒนาประเทศและสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับการเกษตร ท่องเที่ยว การบริการ

เราก็ควรที่จะนำเทคโนโลยีมาเกาะไปกับกลุ่มนี้

ไม่ใช่การนำเทคโนโลยีมานำ แล้วค่อยดูว่าเรามีอะไรที่จะมาใช้ได้กับเทคโนโลยีนี้ได้บ้าง


วันเสาร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

Connected Together

This is a time to stay and watching the new things happen!.

More data more chance. Many group asked me about Data - Big Data - More Data. I'm luckily. I'm in this business of data since 15 years ago.  First we worried about how to keep data. Second we afraid about how to process these data.

But now more technologies are coming.

Then instead we answer the question about the data we have, We will find the way to reverse thinking about these question.

With the data we have
1. What is the model we have?
2. If we have another data coming in this model, What is the future?
3. If we need the result like this again, What is the source of this?

That is the Big-Data come!


วันพุธที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

Chiangmai Pass

ผมเป็นพวกทำงานสายวิศวกรรมซอฟต์แวร์เป็นส่วนใหญ่ ทำให้พอมีความรู้ในด้านของการสร้างระบบอยู่บ้าง

ล่าสุดไปให้ความเห็นในการพัฒนาบุคคลากร เพื่อป้อนให้กับสถานประกอบการ เป็นที่น่าดีใจที่งานสายทางด้าน IT นั้นได้กระจายไปอยู่ที่หัวเมืองอย่างเช่น จังหวัดเชียงใหม่ มีการผลิตกำลังคนเพื่อรองรับการนำเทคโนโลยีมาใช้งาน

แต่ก็อดเสียไม่ได้ว่า แล้วสังคมเราบ้านเมืองเราจะทำอย่างไร หรือว่าจะเป็นผู้ซื้อมากกว่าเป็นผู้ผลิตบ้าง

การสนทนาในวันนั้น ผมได้เน้นให้ทราบถึงการพัฒนาบุคคลากรทางด้าน IT ว่าเราควรจะเน้นไปทางใดบ้าง ซึ่งผมก็เสนอว่าให้มองดูว่าเรามีอะไรที่เป็นจุดเด่น เช่น

การท่องเที่ยว การแพทย์ อาหาร และบริการ

ดังนั้นเราควรผลิตบุคคลากรเพื่อให้มารองรับกับจุดเด่นนั้น ๆ เช่น มีนักพัฒนาสื่อการนำเสนอการท่องเที่ยวในรูปแบบดิจิตอล การวิเคราะห์ข้อมูลการท่องเที่ยว การใช้เงิน การพัฒนาอุปกรณ์ฝังตัวที่สามารถนำมาใช้กับอุปกรณ์ทางการแพทย์ หรือแม้กระทั้งระบบบริการข้อมูลการเดินทางต่าง ๆ

จำไม่ได้ว่าใครเป็นคนถามว่า "แล้วเราจะทำอะไรดีสำหรับเมืองเชียงใหม่?" ผมก็นั่งเหมอมองไปรอบ ๆ ตัว ......


คำตอบคือ    "Chiangmai Pass"

ด้วยเหตุผลที่ว่าเชียงใหม่เป็นเมืองท่องเที่ยว มีนักท่องเที่ยวมากมาย ทั้งคนไทยและคนต่างประเทศ ถ้าหากทุกภาคส่วนรวมกัน ไม่ว่าจะเป็น ร้านค้า ร้านบริการ สิ่งอำนวยความสะดวก การบริการรถรับส่ง สถานที่ท่องเที่ยว ถ้าหากร่วมมือกันได้ เราจะสามารถสร้างระบบที่รองรับการใช้จ่ายผ่านบัตร Chiangmai Pass ได้

มีบัตร (หรืออุปกรณ์ที่ระบุได้) สามารถใช้จ่ายที่เชียงใหม่ได้ทุก ๆ ที่ ที่มี สติ๊กเกอร์ Chiangmai Pass Cert!   เท่าที่จำนวนเงิน (Coin) ยังมีอยู่ในบัตร


คำถามต่อมาคือ "ทำไม?"


คำตอบได้ว่า "ถ้าเราไม่ทำเอง อีกหน่อยคงมีคนทำก่อนเรา แล้วเราจะเสียโอกาสนี้ไป"



วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2561

Power เป็นเรื่องสำคัญสำหรับ IoT

เจอเข้าอย่างน่าแปลกใจ ใช้ USB wifi เก่า ของ Buffalo ที่แต่เดิมมาใช้กับเครื่อ PC มาต่อกับ Raspberry Pi 2 Mode B+ อยู่ได้ 2 ปี

ปรากฏว่า เวลานี่ Wifi connection นั้นติด ๆ หลุด ๆ

แก้ไขปัญหาด้วยการซื้อ Edimax 7811Un มา ลื่นปรืดๆ


วันจันทร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2561

ระบบย่อย ๆ ที่ช่วยกันทำงาน

สมัยที่ดูเหมือนทุกสิ่งรอบ ๆ ตัวเรากำลังสื่อสารกัน ในความเดิมเมื่อสมัยเรียน เราเรียกว่า "connected" กัน บ้างก็เรียกว่า "สื่อสาร" บ้างก็เรียกว่า "sensing" แต่พอเดี๋ยวนี้ต้องเรียกว่า "networked" กัน

เรื่องมันก็เข้ามาพอดี ลองพิจาณาดูตัวอย่างของการ ซื้อ-ขาย แบบ ออนไลน์ ถ้าเป็นระบบสมัยเก่า ก็ต้องเรียกว่า พัฒนากันแบบกินรวบ แต่เดี๋ยวนี้ ต้อง networked กัน เช่น

ผู้ผลิตสินค้า - เน้นผลิตสินค้าให้มีคุณภาพ => Product
ตลาด - รวบรวมสินค้า จัดแบ่งและบริหาร => Market Place
การขนส่ง - ขอส่งสินค้าให้ไว้ และเข้าถึง => Logistics
ลูกค้า - จ่ายเงิน => Demand

เมื่อก่อน สิ่งเหล่านี้ไม่ networked กัน แต่พอ networked กัน มันก็แสดงให้เห็นว่า ผู้เล่น แต่ละส่วน จะทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด ไม่ก้าวก่ายหน้าที่กัน 

สุดท้ายจะเหลือความชำนาญเฉพาะสำหรับผู้เล่นแต่ละรายเท่านั้น