วันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2564

การเรียนรู้คนผ่านการมองอีกด้านกลับมา

 เมื่อเราอยากรู้ว่าเขาเป็นอย่างไร เราต้องหาทางรู้ว่าตอนนี้เขาเป็นอะไร แล้วค้นหาความเป็นตัวเขาผ่านสิ่งที่เป็นปัจจุบันย้อนไปในอดีต

แล้วจากนั้นก็มองว่าอนาคตเขาจะเป็นอย่างไร

วันพฤหัสบดีที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2564

วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

Kivy on Big Sur , Mac OS X 11.0.1

 A few project i used Kivy(www.kivy.org).

When Mac OS X 11.0.1 Big Sur come. I need to recompile Kivy again. Here is my way.


Python3.7 from brew

Gstreamer-1.0-1.18.0-x86_64 (http://gstreamer.freedesktop.org/data/pkg/osx/1.18.0/gstreamer-1.0-1.18.0-x86_64.pkg)

Gstreamer-1.0-devel-1.18.0-x86_64 (http://gstreamer.freedesktop.org/data/pkg/osx/1.18.0/gstreamer-1.0-devel-1.18.0-x86_64.pkg)

SDL2-2.0.12 (https://www.libsdl.org/release/SDL2-2.0.12.dmg)

SDL2_image-2.0.5 (https://www.libsdl.org/projects/SDL_image/release/SDL2_image-2.0.5.dmg)

SDL2_mixer-2.0.4 (https://www.libsdl.org/projects/SDL_mixer/release/SDL2_mixer-2.0.4.dmg)

SDL2_ttf-2.0.15

# Install python3.7

$ brew install python@3.7


# Create new virtualenv

$ virtualenv -p /usr/local/opt/python@3.7/bin/python python3env


# Install SDL2 Gstreamer from here (https://kivy.org/doc/stable/installation/installation-devel.html#)


# then install kivy 1.11.1 from Kivy

# Updated 2.0.0 passed test.

$ pip install https://github.com/kivy/kivy/archive/stable.zip

Successfully installed Kivy-1.11.1 Kivy-Garden-0.1.4 certifi-2020.11.8 chardet-3.0.4 docutils-0.16 idna-2.10 pygments-2.7.2 requests-2.25.0 urllib3-1.26.2

Good Luck!

วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2562

ถึงเวลาหนังสือพิมพ์ ที่ต้องเปลี่ยนแปลงหรือยัง

หลายสิ่งเปลี่ยนไปด้วยความทันสมัยของเทคโนโลยี

การถ่ายทอดความรู้สึกผ่านรูปภาพ เป็นแค่การบันทึกแค่บางเวลาแต่หากต้องการถ่ายทอดถึงความรู้สึกนะช่วงนั้นๆ ภาพเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อย จะสามารถสื่อได้ดีกว่า เช่น กรณีนี้ที่มีพายุ ถ้าหากเป็นการใช้ภาพเคลื่อนไหวมาช่วยบ้างในหน้าหนังสือพิมพ์ ก็จะดีไม่น้อย

แต่ต้องทำผ่าน อุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ เหมือน ภาพยนต์เรื่อง Harry Potter.

ดุ๊กดิ๊ก ๆ ๆ


วันอาทิตย์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2561

start up up up!

เรื่องของเรื่องเกิดจาก วันนี้อ่านข้อความเกี่ยวกับ Start up ของต่างประเทศ เลยฉุกคิดว่า ถ้าจะมองว่า ประเทศไทยมีการขับเคลื่อนไปในทางใดบ้าง แต่ก่อนเราคงมองแค่ว่า มีกิจกรรมใดที่โดดเด่นบ้าง จากปีที่ผ่านมา และที่จะเข้ามา

แต่ ณ ปัจจุบัน เริ่มเข้าสู่ยุคที่เจ้าของธุรกิจ จะแสดงธุรกิจปัจจุบันที่ก่อตั้ง

พอมาดูประเทศเรา เห็นว่ามีการพยายามสร้าง Thailand 4.0 ขึ้น แต่ถ้านับ start up ว่ามีที่เกิดแล้วสำเร็จเท่าไหร่ ก็เห็นได้ว่าน้อยเต็มที

การเกิด start up ใหม่ ๆ ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่ถ้าไม่เกิดเลยหรือเกิดน้อยก็แสดงว่า ประชากร ในกลุ่มนั้น ไม่มีความคิดในการเริ่มอะไรใหม่ ๆ เลย

นี่เป็นที่น่าเป็นห่วงยิ่งนัก ..

วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2561

When nothing clear, there are always another one will try to lead you.

That is a point. When we don't know exactly what is in our hand, There are always another one will come and tell you this is it!

Like Thailand 4.0, I never heard about 3.0, 2.0 or even 1.0 before. But this is a sample from outside who tell me.


http://social-innovation.hitachi/th-en/about/cocreatingtomorrow/thailand/?WT.ac=dc-has-ampl18k-th-then-fb

วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

เมื่อมองครบ การเลือกทำตรงที่ถูกจุด จะประหยัดเวลา

ในยุคของการทำเกษตรปัจจุบัน เทคโนโลยีเริ่มเข้ามามีประโยชน์มากขึ้น แต่การที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้แต่อย่างเดียวคงไม่สำเร็จ หากต้องมองให้ออกว่าควรจะนำมาใช้ในขั้นตอนใด และช่วงเวลาใด

สิ่งที่เห็นอยู่ทุกวันนี้คือ "การแยกกันทำ แบบไม่รวมกัน" เช่น เกษตรกรก็หาวิธีนำอุปกรณ์อัตโนมัติมาใช้งเช่น การให้นำพืช การให้ปุ่ย การฉีดยาฆ่าแมลง แต่ก็มีบางกลุ่มที่คิดค้นวิจัย นำอุปกรณ์มาใช้เป็นเครื่องช่วยผลิต เช่น การตรวจจับต่าง ๆ สำหรับไร่นา อุปกรณ์ควบคุมเครื่องจักร  เทคโนโลยีการตรวจวัดคุณภาพของพืชที่แปลง

แต่เกมส์นี้ คนที่คิดแบบ "แยกกันทำแบบรวมกัน" น่าจะเป็นผู้นำมากกว่า และถ้ามองให้ครบทั้งหมดแล้ว หากเราไม่ทำอะไรเลย คงถูกควบคุมโดยคนที่ไม่ได้ทำอะไรเลย เช่นพวก มาตรฐานต่าง ๆ ที่เราเคยโดน

คนปลูก ก็ทำไป คนตรวจก็ตรวจไป สุดท้าย เกิดช่องว่างให้คนอื่นเขามาหาผลประโยชน์  แทนที่จะเป็นเกษตรกร

ถ้ามองการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเกษตรแล้ว ควรจะเริ่มให้ความรู้ตั้งแต่การทำเกษตร และการนำเทคโนโลยีมาใช้งานพร้อม ๆ กัน และจัดลำดับการนำมาใช้งานให้ถูกต้อง เรียกว่า "เกษตรแนวใหม่"

สำหรับผมแล้วมีความเห็นว่า ถ้าให้เกษตรกรมาเรียนการใช้งานเทคโนโลยีน่าจะเป็นทางที่ยากกว่าการให้นักเทคโนโลยีมาเรียนเกษตร เรียกได้ว่ามาเรียนด้วยกันด้วยยิ่งดี เพราะจะได้มีการแลกเปลี่ยนกัน

ลำดับที่ผมพอจะมองออกก็คือ
1. ระดับ Operation ซึ่งคนที่ทำหน้าที่นี้ได้ดีคือ เกษตรกร หรือลูกหลานเกษตกร
2. ระดับ Manager เป็นคนที่คอยจัดการและบริหาร ความสอดคล้องกันของการผลิตและการตลาด
3. ระดับ Director เป็นคนที่คอยกำกับทิศทางที่ควรจะดำเนินการไป

โดยถ้ามองการนำเทคโนโลยีมาใช้คงพอเป็นแบบนี้ได้
1. ระดับ Operation ให้นำ ระบบ เซนเซอร์ และ ออโตเมชั่นมาใช้ร่วมกับแรงงาน
2. ระดับ Manager นำข้อมูลที่ได้จากระดับ Operation มาวิเคราะห์และหาช่องทางในการนำส่งตลาดที่เหมาะสม
3. ระดับ Director ควรเป็นการนำ Big-Data มาใช้เพื่อกำหนดทิศทางในภาพรวม ทั้งภายนอกและภายใน

และถ้าเราสามารถ "Connected" กันได้ในระดับล่างจนถึงระดับบน และไปยังระดับ กลุ่ม เราก็จะการเกษตรแบบรวม รู้ได้ว่าใครปลูกอะไร ใครอยากได้อะไร

ไม่ใช่ว่าปลูกกันไป ตามข่าวสังคมที่เขาว่า อย่างนั้นดี อย่างนี้ดี

สุดท้ายเนื่องจากประเทศไทยของพวกเรา มีพื้นฐานการพัฒนาประเทศและสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับการเกษตร ท่องเที่ยว การบริการ

เราก็ควรที่จะนำเทคโนโลยีมาเกาะไปกับกลุ่มนี้

ไม่ใช่การนำเทคโนโลยีมานำ แล้วค่อยดูว่าเรามีอะไรที่จะมาใช้ได้กับเทคโนโลยีนี้ได้บ้าง